วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ใบความรู้ที่4


เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกันอย่างไร


การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานร่วมกัน จะมีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน
ด้วยกันคือ ส่วนของฮาร์ดแวร์หรือส่วนเครือข่ายเชิงกายภาพ และส่วนของซอฟต์แวร์หรือส่วนการจัดการ
1)     ฮาร์ดแวร์หรือส่วนเครือข่ายเชิงกายภาพ หรืออุปกรณ์เครือข่าย ได้แก่  สายนำสัญญาณแผ่นวงจรเครือข่าย ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆที่เครือข่ายใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล
2)     ซอฟต์แวร์หรือส่วนการจัดการเชิงตรรกะ เป็นซอฟต์แวร์ที่กำหนดกฎเกณฑ์ในการจัดการเกี่ยวกับอุปกรณ์ในข้อที่ 1 ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.1  เครือข่ายเชิงกายภาพ  (Physical  Networking)  หรือฮาร์ดแวร์ ในส่วนนี้เรา
เข้าใจง่าย เนื่องจากเป็นส่วนที่สามารถมองเห็นได้ คือส่วนของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ อันได้แก่สายนำสัญญาณ แผ่นวงจรเครือข่าย  (LAN Card)  ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ ฮับ  (Hub) และสิ่งอื่นๆ ที่ทำให้เครือข่ายทำงาน  สิ่งที่สำคัญเกี่ยวกับส่วนเครือข่ายเชิงกายภาพทั้งหมดก็คือเรื่องของฮาร์ดแวร์
ลักษณะสถาปัตยกรรมเครือข่ายเชิงกายภาพ  (Physical  Topologies)  สิ่งที่สามารถ
เข้าใจง่ายที่สุดของระบบเครือข่ายทางด้านกายภาพคือ  สายไฟฟ้าหรือสายเคเบิลเราเรียกว่า สายโคแอกซ์ (Coaxial  cables)  หรือสาย  RG 58 ซึ่งมีลักษณะคล้ายสายสัญญาณเคเบิลทีวีที่ใช้ตามบ้านทั่วไป  เชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายอื่น สายสัญญาณเส้นนี้จะเชื่อมโยงเข้ากับแผ่นวงจรเครือข่าย หรือที่เราเรียกว่า แลนการ์ด ที่ติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์จากอุปกรณ์ทั้ง 2 อย่างที่กล่าวถึง  เราสามารถสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบบัส  (Bus  Topology)  หรือเรียกการเชื่อมต่อแบบ 10 BASE 2
                   การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบบัส  10  BASE 2

รูปแสดงการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างเครือข่ายแบบดาว

นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมเครือข่ายได้อีกหลายวิธี  เช่น สถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบดาว  (Star Topology)  ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงที่มีโครงสร้างการกระจาย แบบดาว นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบวงแหวน และสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบต้นไม้ (TreeTopology) หรือแบบโครงสร้างรูปต้นไม้ เป็นต้น การทำงานของสถาปัตยกรรมเครือข่ายทั้งหมดที่กล่าวถึงมีแบบบัส แบบดาว และแบบต้นไม้ ส่วนเครือข่ายแบบวงแหวนโทเค็น จะเป็นสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบวงแหวน

รูปแสดงการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างเครือข่ายแบบวงแหวนโทเค็น


รูปแสดงการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างเครือข่ายแบบต้นไม้ ( Tree )

          การทำงานของเครือข่ายทั้งหมดที่กล่าวถึงมีความแตกต่างกันในการใช้งาน เครือข่ายแบบบัส (Bus) จะใช้สายสัญญาณชนิด  10 Base 2  เครือข่ายแบบดาวและแบบต้นไม้ ใช้สายสัญญาณชนิด 10 Base -T  ส่วนเครือข่ายแบบวงแหวน เช่น วงแหวน  FDDI  จะใช้สายใยแก้วนำแสงเป็นต้น  สายสัญญาณ 10 Base 2  เป็นสายมาตรฐานแบบเก่ามีลักษณะคล้ายสายเคเบิลทีวี ส่วนสาย  10 Base -T  หรือสายยูทีพี  (UTP: Unshielded  Twisted-Pair)  มีลักษณะคล้ายสายโทรศัพท์มีจำนวนสายภายในไม่น้อยกว่า 8 เส้น  ซึ่งสายสัญญาณ 10 Base 2  และ  10 Base -T  ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้
          4.2   ซอฟต์แวร์หรือส่วนการจัดการเครือข่ายเชิงตรรกะ  ในหัวข้อ 4.1 นักเรียนได้เรียนรู้ถึงวิธีการต่อสายเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์หลายเครื่องหรือหลายชุดเข้าเป็นเครือข่าย  ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกันแต่ลำพังการต่อเชื่อมสายเช่นว่านั้นยังไม่สามารถทำให้เกิดการรับส่งข้อมูลถึงกันได้  ทั้งนี้เพราะการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายนั้นต้องมีขั้นตอนและวิธีการตามข้อกำหนดที่แน่นอนซึ่งเรียกว่า เกณฑ์วิธี  (Protocol)  และต้องมีซอฟต์แวร์มาทำหน้าที่ควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามเกณฑ์วิธี  โดยต้องมีซอฟต์แวร์ทั้งในส่วนของเครื่องแม่ข่ายและเครื่องลูกข่าย  ทั้งนี้อาจเป็นซอฟต์แวร์เฉพาะกิจเพื่อควบคุมการทำงานแบบเครือข่าย เช่น เน็ตแวร์  (Novell’s  Netware  ) หรืออาจเป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถทำงานกับเครือข่าย เช่น ไมโครซอฟต์วินโดวส์  (Microsoft  windows)  ก็ได้

สรุปสาระสำคัญท้ายหน่วย

การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับ
การใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่างๆ และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานและอุปกรณ์แลข้อมูลต่างๆ
 ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้
          สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จึงเป็นเครือข่ายเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม
          การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบรวมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดระบบสื่อสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง

          คำศัพท์ที่สำคัญในหน่วยนี้

ภาษาอังกฤษ
ภาษาไทย
Bus  topology
เครือข่ายแบบบัส
Coaxial  cobles
สายโอแอกเชียล
Hub
อุปกรณ์กระจายสัญญาณ
Receiver
ผู้รับ
Sender
ผู้ส่ง
Star  topology
เครือข่ายแบบดาว
Tree  topology
เครือข่ายแบบต้นไม้
UTP:  unshielded  twisted-pair
สายยูทีพี
                       
ที่มา :  ถวัลย์วงศ์   ไกรโรจนานันท์ , รศ.ดร และคณะ.  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้
         พื้นฐานและเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานพื้นฐานอาชีพ  ช่วงชั้นที่ 3 
         เทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น