วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่1

แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่1

คำชี้แจง   ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดลงในสมุด


          1.  ข้อใดเป็นการคิดคำนวณตัวเลขด้วยวิธีใดที่มนุษย์เราปฏิบัติเป็นครั้งแรก
                   ก.  การบวก                                 ข.  การลบ
                   ข.  การคูณ                                  ง.  การหาร

          2. ระบบเลขที่คนเราใช้คิดคำนวณกันในปัจจุบันคือระบบเลขฐานใด
                   ก.  ระบบฐานหนึ่ง                         ข.  ระบบฐานสอง
                   ค.  ระบบฐานเก้า                          ง.  ระบบเลขฐานสิบ

          3.  ชนชาติใดที่รู้จักใช้ลูกคิดเป็นครั้งแรก
                   ก.  จีน                                        ข.  อเมริกัน
                   ค.  อังกฤษ                                  ง.  ไทย

4.  เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านชนิดใดบ้าง  มีหลักทำงานด้วยระบบอนาล็อก
                   ก.  ตู้เย็น                                     ข.  โทรศัพท์บ้าน
                   ค.  หม้อหุงข้าว                             ง.  เตาอบไมโครเวฟ

          5.  การที่มนุษย์สมัยโบราณการใช้กิ่งไม้  อัน  กับหินสีขาว  1  ก้อน  แทนตัวเลข
               จำนวนใด
                   ก.  13                                        ข.  30
                   ค.  33                                        ง.  300

          6.  คอมพิวเตอร์ยุคหลอดสุญญากาศ  ประดิษฐ์เป็นครั้งแรกที่ประเทศใด
                   ก.  อังกฤษ                                  ข.  อเมริกา
                   ค.  กรีก                                      ง.  ฮอลันดา

          7.  ยุคล่าสุดในลำดับพัฒนาการของคอมพิวเตอร์  คือยุคใด
                   ก.  ยุคไมโครโพรเซสเซอร์                ข.  ยุคหลอดสุญญากาศ
                   ค.  ยุควงจรรวม                            ง.  ยุคทรานซิสเตอร์

          8.  คอมพิวเตอร์ที่เริ่มมีการใช้งานในเชิงพาณิชย์อย่างจริงจังคือคอมพิวเตอร์รุ่นใด
                   ก.  ยุควงจรรวม                            ข.  ยุคทรานซิสเตอร์ 
                   ค.  ยุคไมโครโพรเซสเซอร์                ง.  ยุคหลอดสุญญากาศ

          9.  คอมพิวเตอร์รุ่นใดที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
                   ก.  ยุควงจรรวม                            ข.  ยุคทรานซิสเตอร์ 
                   ค.  ยุคไมโครโพรเซสเซอร์                ง.  ยุคหลอดสุญญากาศ

          10.  Era of Stand Alone Computing  เป็นคอมพิวเตอร์รุ่นใด
                   ก.  คอมพิวเตอร์เครือข่าย                ข.  คอมพิวเตอร์เครื่องเดี่ยว 
                   ค.  คอมพิวเตอร์สื่อประสม               ง.  คอมพิวเตอร์เมนเฟรน

          11.  อุปกรณ์ใดช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรและสามารถ
       ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันในระบบเครือข่าย
          ก.  สายเส้นใยแก้ว                         ข.  โมเด็ม
          ค.  สาย USB                                ง.  สายโทรศัพท์

          12.  สิ่งใดไม่ใช่องค์ประกอบของการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง
       ไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
                   ก.  ผู้ส่ง                                      ข.  ผู้รับ
                   ค.  ตัวกลาง                                 ง.  ตัวป้อนข้อมูล

          13.  เครือข่ายคอมพิวเตอร์เครือข่ายใดที่เชื่อมโยงระบบเข้าด้วยกันในระยะไกล
                 คลอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ ระหว่างประเทศ หรือทั่วโลก
                   ก.  MAN  หรือ  Metropolitan  Area 
                   ข.  WAN  หรือ  Wide Area Network
                   ค.  LAN  หรือ  Local Area  Network
                   ง.  Bus  topology

          14.  เครือข่ายคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัย โรงเรียน และบริษัทหรือห้างร้านต่างๆ
                 เป็นเครือข่ายชนิดใด
                   ก.  เครือข่ายบริเวณนครหลวง           ข.  เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่

                   ค.  เครือข่ายบริเวณกว้าง                 ง.  เครือข่ายแวน



           15.  <!--[if !vml]--><!--[endif]-->  ในรูปภาพนี้เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบใด
                   ก.  Star Topology                       ข.  Tree  Topology
                   ค.  Bus  Topology                      ง.  Ring  Topology

          16.  เครือข่ายแบบใดใช้สายสัญญาณ 10 Base 2 
                   ก.  Star Topology                       ข.  Hub  Topology
                   ค.  Bus  Topology                      ง.  Ring  Topology

          17.  Hub  ในการเชื่อมโยงเครือข่ายทำหน้าที่อย่างไร
                   ก.  กระจายสัญญาณ                      ข.  ส่งสัญญาณ
                   ค.  รับสัญญาณ                             ง.  รวมสัญญาณ

          18.  Video  Conference  คืออะไร
                   ก.  การประชุมทางไกลของรัฐบาล      ข.  การบริการค้นและยืมหนังสือ
                   ค.  การเลือกรายการชมโทรทัศน์        ง.  การบริการห้องเรียนเสมือนจริง

          19.  E – Commerce  คืออะไร
                   ก.  การประชุมทางไกลของรัฐบาล      ข.  เว็บไซต์สำหรับซื้อขายสินค้า
                   ค.  การเลือกรายการชมโทรทัศน์        ง.  เว็บไซต์สำหรับธนาคาร

          20.  E – Books  คืออะไร 
                   ก.  ห้องสมุดเหมือนจริง                   ข.  ห้องเรียนเหมือนจริง
                   ค.  หนังสืออีเล็กโทรนิกส์                  ง.  เว็บไซต์เพื่อค้นและยืมหนังสือ

ขอให้นักเรียนโชคดี

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ให้นักเรียนจับคู่คำและข้อความที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และความสัมพันธ์กัน

          1.  One  stop  service                           ก.  ห้องสนทนาโต้ตอบกันทางไกล
          2.  Smart  Card                                    ข.  ทำตารางสอน หาระดับคะแนน
          3.  E – Banking                                     ค.  ห้องสมุดออนไลน์
          4.  E – Commerce                                ง.  ห้องสมุดโลก
          5.  E – Book                                        จ.  เว็บไซต์ของธนาคาร
          6.  Video  conference                           ฉ.  โรงเรียนราษฎร์ของ
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
          7.  www. Nectec .or  courseware           ช.  ศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ
          8.  E – Business                                    ซ.  เลือกชมรายการวิทยุโทรทัศน์
          9.  โรงเรียนวังไกลกังวล                            ฌ.  เว็บไซต์เกี่ยวกับเทคโนโลยี
          10.  คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อครูผู้สอน          ญ.  บัตรประชาชนอีเลคโทรนิกส์ 
          11.  On  Demand                                 ฎ.  สายยูทีพี
          12.  Internet                                        ฏ.  ระบบดิจิตอล
          13.  unshielded  twisted-pair                ฐ.  เว็บไซต์ของร้านสรรพสินค้า
          14.  Digital  System                              ฑ.  คอมพิวเตอร์แม่ข่าย

          15.  Host  Computer                            ฒ. เว็บไซต์เกี่ยวกับธุรกิจและบริการ

ใบความรู้ที่5


ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ

       ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ   ในสังคมยุคปัจจุบันเป็นสังคมที่ผูกพันอยู่กับ  ข้อมูลสารสนเทศ  มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อให้ทันต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็วของสังคม  และเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับจัดการกับข้อมูลเหล่านี้คือ  คอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม  มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อเก็บเป็นหลักฐานและวิเคราะห์หาแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต   ซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล

    เครื่องมือที่สำคัญที่ช่วยในการบันทึกและรวบรวมข้อมูล คือ การบันทึก อาจจะใช้วิธีจดด้วยการเขียนทีจะได้ในรูปแบบตัวอักษร การบันทึกในแถบบันทึกเสียงจะเป็นการบันทึกด้วยเสียง   หรือบันทึก วิดีโอ จะเป็นการบันทึกด้วยเสียงและภาพ เป็นต้น

          เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของรัฐบาล   ที่สำคัญได้แก่

          ศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ  (  One  stop  service )
               
                รัฐบาลได้ใช้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ปรับปรุงบริหารงาน  โดยมีเป้าหมายให้เป็นสิ่งที่เรียกว่า รัฐบาลอีเลคโทรนิกส หรือ  อี โกเวิร์นเมนต์ ( E – Government ) ”  สามารถให้บริการประชาชนได้เสมอภาคในรูปแบบของ  4  ท  คือ  ทีเดียว   ทันใด  ทั่วไทย  และทุกเวลา  โดยหน่วยงานต่างๆของรัฐบาลจะจัดทำข้อมูลด้านต่างๆของประชาชนและให้บริการร่วมกัน   หน่วยงานราชการทุกแห่งมีการปรับปรุงการทำงาน  ทำให้บริการประชาชนได้รวดเร็วและถูกต้องกว่าอดีตมาก  เช่น
            1.  ที่ว่าการอำเภอหรือเขต  มีการทำบัตรประชาชนรวมทั้งบริการอื่นๆ  แบบศูนย์
บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ  สามารถรับบัตรได้ภายใน  10  นาที 
             2.  โครงการบัตรประชาชนอีเลคโทรนิกส์  หรือที่เรียกว่า  สมาร์ทการ์ด  ( Smart
Card )  ของกระทรวงมหาดไทย  จะเป็นบัตรอีเลคโทรนิกส์ที่มีข้อมูลบันทึกอยู่และสามารถใช้อ่านได้ด้วยคอมพิวเตอร์  ทำให้การนำบัตรชนิดนี้ไปติดต่อราชการสะดวกและรวดเร็ว  เก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว  เพราะอ่านข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
             3.  กรมสรรพากร  เปิดเว็บไซต์ให้ประชาชนสามารถยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ผ่านอินเตอร์เน็ต

วงการค้าและธุรกิจ

             ธุรกิจหลายอย่างได้ใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นสถานที่ทำธุรกิจ
และบริการ  เรียกว่า  E – Business  ตัวอย่างเช่น
            1.  ธนาคารต่างๆ  เปิดเว็บไซต์เพื่อให้บริการลูกค้าสำหรับทำธุรกรรมกับธนาคาร
หรือเรียกว่า  E – Banking 
             2.  บริษัทห้างร้านเปิดเว็บไซต์เพื่อให้บริการลูกค้าและบริการ  ( E – Shopping หรือ  E – Commerce )  ฯลฯ 
วงการผลิตและอุตสาหกรรม

¨   มีการใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบสินค้า      และบรรจุผลิตภัณฑ์  ( หีบห่อ )
¨   การผลิตสินค้ามีการนำระบบอัตโนมัติที่ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุม  ทำให้ผลิตสินค้าปริมาณมากได้ในราคาที่ถูกลง
¨   มีการนำคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูลมาใช้ในระบบการจัดส่งสินค้าระหว่างธุรกิจ   ทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น
¨   มีการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการทำงาน  การบริหารจัดการและการให้บริการลูกค้า  ด้วยความรวดเร็ว  ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวงการศึกษา       ที่สำคัญได้แก่
          1.  มีการกระจายข่าวสารความรู้ผ่านดาวเทียม    ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ทำให้ผู้เรียนและประชาชนได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารของวงการศึกษาอย่างทั่วถึง  มีโอกาสเรียนรู้เท่าเทียมกันตัวอย่างเช่น  โครงการจัดการศึกษาด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม
โดยถ่ายทอดการเรียนการสอนหลักสูตรมัธยมศึกษาและอื่นๆผ่านดาวเทียมจากโรงเรียน
วังไกลกังวล  หัวหินอันเป็นโรงเรียนราษฎร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ไปสู่โรงเรียนในชนบทที่อยู่ห่างไกล 
           2.  โรงเรียนและสถานศึกษาปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยสอน  ให้นักเรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ  เช่นทำตารางสอน  จัดชั้นเรียน  คำนวณระดับคะแนนทำสถิติและแบบรายงาน 
           3.  ห้องสมุดหลายแห่ง มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย  ทำให้ไม่ต้องหาหนังสือจากการค้นบัตรรายการในตู้ดัชนีเหมือนก่อน    แต่ผู้ใช้สามารถสืบค้นจากฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์  รวมทั้งสามารถยืม คืนหนังสือได้ด้วยตนเอง และมีบริการ
ค้นคว้าความรู้จากอินเตอร์เน็ตไม่ต้องเสียเวลาเข้าไปค้นห้องสมุด
            4.  อินเตอร์เน็ต  คือห้องสมุดโลก  มีข้อมูลความรู้ต่างๆมากมายทุกสาขาทุกแขนง
ในโลก  รวมทั้งมีการเปิดเว็บไซต์เพื่อกระจายความรู้  ตัวอย่างเช่น
v เว็บไซต์ที่สร้างเป็นห้องสมุดออนไลน์เรียกว่า  E – Library  ห้องสมุดแบบนี้ไม่มีหนังสือเป็นเล่มแต่มีหนังสืออีเล็คโทรนิกส์ เรียกว่า อี บุ๊ค  ( E – Book )  เป็นไฟล์ที่เก็บบันทึกไว้ในแผ่นบันทึกข้อมูลของคอมพิวเตอร์  ผู้ยืมสามารถดาวน์ โหลดไฟล์ อี บุ๊ค  นี้มาที่คอมพิวเตอร์ของเราได้
v เว็บไซต์  เรียนรู้ผ่านเว็บ  ของเนคเทค  ( www. Nectec .or  courseware /  computer / comp - sing  / index .html ) มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ  ทั้งคอมพิวเตอร์  อินเตอร์เน็ต  กราฟิก  มัลติมีเดีย  เป็นต้น

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวงการรักษาพยาบาล     ที่สำคัญได้แก่
-                    
1.      ใช้ระบบฐานข้อมูลในการข้อมูลผู้ป่วย  การรักษาด้วยคอมพิวเตอร์
2.      มีระบบการรักษาพยาบาลทางไกล  ส่งข้อมูลผู้ป่วยในชนบท  เช่นภาพถ่ายเอกซเรย์ผ่านเครือข่ายสื่อสารมาให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่ในเมืองช่วยวินิจฉัยโรค
3.      มีเว็บไซต์ในระบบอินเตอร์เน็ตมากมายที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาโรคและทางการแพทย์

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวงการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น     ที่สำคัญได้แก่

1.      การติดต่อสื่อสาร  มีบริการสื่อสารโทรคมนาคมที่สะดวกสบายเกิดขึ้นหลายรูปแบบ
2.      ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้าน  เช่น  ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน  เครื่องใช้ไฟฟ้า  ถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์  รวมทั้งสามารถควบคุมทางไกลด้วยโทรศัพท์มือถือผ่านทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
3.      ด้านสิ่งแวดล้อม  มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพยากรณ์อากาศ  มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม  เก็บข้อมูลสภาพอากาศ  สภาพป่าไม้  ตรวจวัดมลภาวะ และนำข้อมูลไปใช้ในการจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข
4.      ด้านการป้องกันประเทศ  อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่  มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาควบคุมการทำงาน  ตัวอย่างเช่น
§  เครื่องบินที่ไม่ต้องมีนักบิน  แต่สามารถควบคุมได้ด้วยคอมพิวเตอร์
§  สมาร์ทบอมบ์ที่สามารถค้นหาเป้าหมายของศัตรูได้
§  ระบบเฝ้าระวังที่ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน
             เมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีมากขึ้น  มีการสื่อสารสองทางที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารโต้ตอบกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็วได้ทุกหนทุกแห่ง  คนในชนบทที่อยู่ห่างไกลสามารถได้รับข้อมูลข่าวสารทันที  มีสิ่งอำนวยความสะดวกได้รับบริการด้านต่างๆจากรัฐบาล  และส่งข้อมูลติดต่อกับคนทั่วโลกได้เช่นเดียวกับคนในเมือง ความก้าวหน้าเช่นนี้มีผลเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั่วไป กลายเป็นสังคมยุคแห่งข้อมูลข่าวสารหรือสังคมสารสนเทศ    ตัวอย่างการทำงานที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ได้แก่ 
            1.  วิดิโอคอนเฟฟอเร็นซ์  ( Video  conference )  เป็นการจัดประชุมทางไกลที่รัฐบาลจัดขึ้นเพื่อพบปะกับผู้ว่าราชการในจังหวัดต่างๆ  โดยคณะรัฐมนตรีดำเนินการประชุมอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาล  สามารถสนทนาโต้ตอบกันได้ทางคอมพิวเตอร์เครือข่าย
            2.  บริการ เอ ที เอ็ม ของธนาคาร  ทำให้ลูกค้าธนาคารทุกสาขาสามารถฝาก ถอนเงินได้ทุกเวลา  จากตู้เอ ที เอ็ม ที่อยู่ใกล้บ้านหรือห้างสรรพสินค้า
            3.  ห้องเรียนเสมือนจริง  สถาบันการศึกษาในระดับต่างๆเปิดเว็บไซต์สำหรับบริการผู้เรียนในหลักสูตรต่างๆที่บ้าน  โดยผู้เรียนเปิดคอมพิวเตอร์ติดต่ออินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์เข้าสู่วิชาเรียนในหลักสูตรที่ตนเองสมัครเรียนไว้
             4.  ห้องสมุดเสมือนจริง  คือเว็บไซต์ที่เปิดขึ้นในอินเตอร์เน็ตเพื่อให้บริการค้นและยืมหนังสือที่อยู่ในรูปแบบของ  หนังสืออีเล็กโทรนิกส์  หรือ  อี บุ๊คส์   ( E – Books )
เมื่อค้นหนังสือที่ต้องการได้แล้วก็เพียงแต่ดาวน์โหลดหนังสืออีเล็กโทรนิกส์นี้มาที่คอมพิวเตอร์ที่บ้านของเราได้เลย
             5.  บริการเลือกรับได้ตามความต้องการ  ( On  Demand )  เป็นบริการสำหรับผู้ชมรายการวิทยุโทรทัศน์สามารถเลือกรับชมเฉพาะรายการที่ต้องการ เพียงเราส่งข้อมูลไปยังสถานี  แล้วทางสถานีก็จะส่งรายการที่เราเลือกรับมาให้


วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ใบความรู้ที่4


เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกันอย่างไร


การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานร่วมกัน จะมีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน
ด้วยกันคือ ส่วนของฮาร์ดแวร์หรือส่วนเครือข่ายเชิงกายภาพ และส่วนของซอฟต์แวร์หรือส่วนการจัดการ
1)     ฮาร์ดแวร์หรือส่วนเครือข่ายเชิงกายภาพ หรืออุปกรณ์เครือข่าย ได้แก่  สายนำสัญญาณแผ่นวงจรเครือข่าย ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆที่เครือข่ายใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล
2)     ซอฟต์แวร์หรือส่วนการจัดการเชิงตรรกะ เป็นซอฟต์แวร์ที่กำหนดกฎเกณฑ์ในการจัดการเกี่ยวกับอุปกรณ์ในข้อที่ 1 ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.1  เครือข่ายเชิงกายภาพ  (Physical  Networking)  หรือฮาร์ดแวร์ ในส่วนนี้เรา
เข้าใจง่าย เนื่องจากเป็นส่วนที่สามารถมองเห็นได้ คือส่วนของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ อันได้แก่สายนำสัญญาณ แผ่นวงจรเครือข่าย  (LAN Card)  ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ ฮับ  (Hub) และสิ่งอื่นๆ ที่ทำให้เครือข่ายทำงาน  สิ่งที่สำคัญเกี่ยวกับส่วนเครือข่ายเชิงกายภาพทั้งหมดก็คือเรื่องของฮาร์ดแวร์
ลักษณะสถาปัตยกรรมเครือข่ายเชิงกายภาพ  (Physical  Topologies)  สิ่งที่สามารถ
เข้าใจง่ายที่สุดของระบบเครือข่ายทางด้านกายภาพคือ  สายไฟฟ้าหรือสายเคเบิลเราเรียกว่า สายโคแอกซ์ (Coaxial  cables)  หรือสาย  RG 58 ซึ่งมีลักษณะคล้ายสายสัญญาณเคเบิลทีวีที่ใช้ตามบ้านทั่วไป  เชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายอื่น สายสัญญาณเส้นนี้จะเชื่อมโยงเข้ากับแผ่นวงจรเครือข่าย หรือที่เราเรียกว่า แลนการ์ด ที่ติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์จากอุปกรณ์ทั้ง 2 อย่างที่กล่าวถึง  เราสามารถสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบบัส  (Bus  Topology)  หรือเรียกการเชื่อมต่อแบบ 10 BASE 2
                   การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบบัส  10  BASE 2

รูปแสดงการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างเครือข่ายแบบดาว

นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมเครือข่ายได้อีกหลายวิธี  เช่น สถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบดาว  (Star Topology)  ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงที่มีโครงสร้างการกระจาย แบบดาว นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบวงแหวน และสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบต้นไม้ (TreeTopology) หรือแบบโครงสร้างรูปต้นไม้ เป็นต้น การทำงานของสถาปัตยกรรมเครือข่ายทั้งหมดที่กล่าวถึงมีแบบบัส แบบดาว และแบบต้นไม้ ส่วนเครือข่ายแบบวงแหวนโทเค็น จะเป็นสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบวงแหวน

รูปแสดงการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างเครือข่ายแบบวงแหวนโทเค็น


รูปแสดงการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างเครือข่ายแบบต้นไม้ ( Tree )

          การทำงานของเครือข่ายทั้งหมดที่กล่าวถึงมีความแตกต่างกันในการใช้งาน เครือข่ายแบบบัส (Bus) จะใช้สายสัญญาณชนิด  10 Base 2  เครือข่ายแบบดาวและแบบต้นไม้ ใช้สายสัญญาณชนิด 10 Base -T  ส่วนเครือข่ายแบบวงแหวน เช่น วงแหวน  FDDI  จะใช้สายใยแก้วนำแสงเป็นต้น  สายสัญญาณ 10 Base 2  เป็นสายมาตรฐานแบบเก่ามีลักษณะคล้ายสายเคเบิลทีวี ส่วนสาย  10 Base -T  หรือสายยูทีพี  (UTP: Unshielded  Twisted-Pair)  มีลักษณะคล้ายสายโทรศัพท์มีจำนวนสายภายในไม่น้อยกว่า 8 เส้น  ซึ่งสายสัญญาณ 10 Base 2  และ  10 Base -T  ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้
          4.2   ซอฟต์แวร์หรือส่วนการจัดการเครือข่ายเชิงตรรกะ  ในหัวข้อ 4.1 นักเรียนได้เรียนรู้ถึงวิธีการต่อสายเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์หลายเครื่องหรือหลายชุดเข้าเป็นเครือข่าย  ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกันแต่ลำพังการต่อเชื่อมสายเช่นว่านั้นยังไม่สามารถทำให้เกิดการรับส่งข้อมูลถึงกันได้  ทั้งนี้เพราะการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายนั้นต้องมีขั้นตอนและวิธีการตามข้อกำหนดที่แน่นอนซึ่งเรียกว่า เกณฑ์วิธี  (Protocol)  และต้องมีซอฟต์แวร์มาทำหน้าที่ควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามเกณฑ์วิธี  โดยต้องมีซอฟต์แวร์ทั้งในส่วนของเครื่องแม่ข่ายและเครื่องลูกข่าย  ทั้งนี้อาจเป็นซอฟต์แวร์เฉพาะกิจเพื่อควบคุมการทำงานแบบเครือข่าย เช่น เน็ตแวร์  (Novell’s  Netware  ) หรืออาจเป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถทำงานกับเครือข่าย เช่น ไมโครซอฟต์วินโดวส์  (Microsoft  windows)  ก็ได้

สรุปสาระสำคัญท้ายหน่วย

การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับ
การใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่างๆ และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานและอุปกรณ์แลข้อมูลต่างๆ
 ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้
          สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จึงเป็นเครือข่ายเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม
          การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบรวมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดระบบสื่อสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง

          คำศัพท์ที่สำคัญในหน่วยนี้

ภาษาอังกฤษ
ภาษาไทย
Bus  topology
เครือข่ายแบบบัส
Coaxial  cobles
สายโอแอกเชียล
Hub
อุปกรณ์กระจายสัญญาณ
Receiver
ผู้รับ
Sender
ผู้ส่ง
Star  topology
เครือข่ายแบบดาว
Tree  topology
เครือข่ายแบบต้นไม้
UTP:  unshielded  twisted-pair
สายยูทีพี
                       
ที่มา :  ถวัลย์วงศ์   ไกรโรจนานันท์ , รศ.ดร และคณะ.  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้
         พื้นฐานและเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานพื้นฐานอาชีพ  ช่วงชั้นที่ 3 
         เทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด