วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ใบความรู้เรื่องอินเทอร์เน็ต

เรื่องอินเทอร์เน็ต
     
 อินเทอร์เน็ต หมายถึง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกไว้ด้วยกัน โดยผ่านทาง โมเด็มและสายโทรศัพท์  ซึ่งทำให้เราสามารถโอน ย้ายข้อมูล ติดต่อสื่อสาร ได้ในเวลาอันรวดเร็ว อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นครั้งแรก โดยกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.. 2512 ARPA (ARPA Advanced Research Projects Agency) ได้นำเอาคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลถึงกัน ในขั้นแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในวงการทหารและการศึกษาเท่านั้น หลังจากนั้นเครือข่าย ARPANET ก็ได้รับความสนใจจากองค์กรต่างๆ ทำให้มีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากเข้าร่วมเครือข่าย จนกระทั่ง พ.. 2532ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอินเทอร์เน็ต

(Internet)
    ประเทศไทย เริ่มมีการใช้อินเทอร์เน็ตในปี พ.. 2530 โดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยเชื่อมต่อกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ของประเทศออสเตรเลีย แต่ก็ยังมีเครือข่ายที่ยังไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ต่อมา พ.. 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตได้อย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรก

          หลักการทำงานของระบบอินเทอร์เน็ต

              อินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาก (Net) มีการเชื่อมโยงกันไปทั้งโลก ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าเชื่อมโยงกับเครือข่าย ในการต่อเชื่อมกับเครือข่ายนั้นต้องใช้ภาษากลางที่เรียกว่า ทีซีพี / ไอพี (TCP / IP) ซึ่งเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถรับรู้ได้



           อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต  ได้แก่ 

                   1.  โมเด็ม  (  Modem )    ย่อมาจาก  Modulator   Demodulator  ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงระหว่างสัญญาณดิจิตัลของคอมพิวเตอร์กับสัญญาณอะนาล็อก 
( สัญญาณเสียง )  ของโทรศัพท์
                   2.  เบอร์โทรศัพท์  1  คู่สาย  โดยสายต่อสายโทรศัพท์เข้ากับ โมเด็มและต่อสายโมเด็มเข้ากับคอมพิวเตอร์
                   3.  สมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต  หรือ  ISP เมื่อสมัครแล้ว
เราจะได้รับข้อมูลสำหรับการตั้งค่าเพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของผู้ให้บริการ
อินเตอร์เน็ตได้แก่
§  ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน
§  เบอร์โทรศัพท์ที่จะให้โมเด็มของเราหมุนต่อกับคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
§  คู่มือหรือคำแนะนำในการติดต่อ
§  ค่าใช้จ่ายการติดต่ออินเตอร์เน็ตแต่ละครั้ง  จะต้องเสียเป็นรายชั่วโมงและเสียค่าโทรศัพท์เป็นรายครั้ง

หน้าต่างโปรแกรม







  

 เวิลด์ ไวด์ เว็บ (World Wide Web – WWW)

     ในตอนแรกที่เริ่มมีอินเทอร์เน็ต ทำให้การรับส่งข้อมูลยังไม่ค่อยจะสะดวกนักเพราะจะต้องพิมพ์คำสั่งภาษาอังกฤษยาวๆ กระทั่งปี พ.. 2543 ได้มีการคิดค้นระบบการสื่อสารที่เรียกว่า เวิลด์ ไวด์ เว็บ (WWW: World Wide Web)
     เวิลด์ ไวด์ เว็บ เป็นบริการที่ใช้เว็บบราวเซอร์ เพื่อเชื่อมต่อเข้าไปใช้งานกับเว็บไซต์ต่างๆ นับว่ามีผู้นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะใช้งานง่าย  สามารถที่จะสื่อสารกันด้วยภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ไฟล์วิดีโอ นับว่าเป็นสื่อประสมที่สมบูรณ์แบบมากที่สุด
เว็บบราวเซอร์ที่นิยมใช้กันมากได้แก่ เช่น โปรแกรม อินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอ์ (Internet Explorer) และ โปรแกรม เนสเคป คอมมูนิเคเตอร์ (Netscape Communicator), โปรแกรม โอเปรา (Opera)



         
          เราจะเข้าเว็บไซต์ต่างๆได้อย่างไร ?

          ลักษณะของเว็บไซต์ต่างๆเป็นดังนี้




          1.  =  โพรโทคอล                2.  =   ชื่อเมน
          3.  ชื่อไดเรกทอรี่             4.  ชื่อไฟล์ ( เว็บเพจ )

            สัญลักษณ์หรือรหัสที่ปรากฏนี้เรียกว่า  URL  คือการระบุเส้นทางที่เก็บเว็บเพจ
โดยระบุคอมพิวเตอร์  ตำแหน่ง และชื่อไฟล์เว็บเพจ
            การตรวจดูเว็บเพจและเว็บไซต์ต่างๆ  ทำได้หลายวิธี  ตัวอย่างเช่น
               1.  การป้อนที่อยู่ของเว็บ   ถ้าเราทราบที่อยู่  URL  ของเว็บเพจในอินเตอร์เน็ต
ก็เพียงแต่พิมพ์ป้อนลงในช่อง  Address  โดยไม่ต้องพิมพ์ Http : //  เมื่อพิมพ์เสร็จให้กดแป้น Enter  หรือ  Go  เพียงเท่านี้  โปรแกรมอินเตอร์เน็ต เอ็กซพลอเรอร์ก็จะติดต่อไปที่คอมพิวเตอร์ตามที่อยู่และดาวน์โหลดไฟล์เว็บมาแสดงบนจอภาพของเรา
             การพิมพ์ป้อนที่อยู่มีข้อควรระวังคือ  ห้ามพิมพ์ผิด  แต่โปรแกรมก็ช่วยให้หาง่าย
โดยเก็บบันทึกที่อยู่เว็บเพจที่เคยดูไว้  ดังนั้นเมื่อเริ่มต้นพิมพ์ที่อยู่เพียง  2 3 ตัวอักษรก็จะปรากฏรายการที่อยู่ที่มีเพียง  2 3  ตัวอักษรนั้นมาให้คลิกเลือกได้ทันที
              2.  การใช้เครื่องมือค้น  มีอยู่หลายแห่งให้เลือกตามความเหมาะสมหรือแล้วแต่ความถนัด  เพราะมีความสามารถและวิธีการใช้งานคล้ายกันคือ   ป้อนคำหรือวลีเกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องการค้นในช่องค้น 
              ปุ่ม  Search  ที่แถบเครื่องมือเพื่อค้นหาเว็บเพจที่มีข้อมูลที่ต้องการวิธีค้น 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น